รูปแบบงานการมีส่วนร่วมในภาคประชาชน ของสำนักงาน กกพ. |
1. คณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.)
“รู้จัก คพข.” คพข. คือ คณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แต่งตั้งขึ้นจากผู้แทนผู้ใช้พลังงาน (ผู้ช้ไฟฟ้า) ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน 2550 (พ.ร.บ.) เพื่อมาเป็นกลไกของ กกพ. ในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน ให้คำปรึกษาแก่ กกพ.ในด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน เสนอมาตรการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการพลังงาน เป็นต้น ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน 2550 มาตรา 98 กำหนดให้มี คพข. จำนวน เขต ละ 11 คน (มีประธาน 1 คน และกรรมการไม่เกิน 10 คน) ตามเขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงานที่ กกพ. ประกาศ โดย กกพ. ได้ประกาศกำหนดเขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงาน รวม 13 เขต ทั่วประเทศ ประกอบด้วย เขต 1 มี 6 จังหวัด คือ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เขต 2 มี 8 จังหวัด คือ น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และพิจิตร โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดพิษณุโลก เขต 3 มี 6 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และ ลพบุรี โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดนครสวรรค์ เขต 4 มี 8 จังหวัด คือ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และขอนแก่น โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น เขต 5 มี 8 จังหวัด คือ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดอุบลราชธานี เขต 6 มี 4 จังหวัด คือ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ. ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา เขต 7 มี 7 จังหวัด คือ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดสระบุรี เขต 8 มี 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดชลบุรี เขต 9 มี 4 จังหวัด คือ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดกาญจนบุรี เขต 10 มี 6 จังหวัด คือ ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดราชบุรี เขต 11 มี 6 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช และตรัง โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 12 มี 6 จังหวัด คือ พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดสงขลา เขต 13 มี 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยมีที่ตั้ง สนง.กกพ.ประจำเขต อยู่ที่ จังหวัดนนทบุรี จากเขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงานดังกล่าว แต่ละเขตจะมี คพข. เขต ละ 11 คน (แบ่งไปตามสัดส่วนจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าของแต่ละจังหวัดในเขต) ดังนั้น คพข. ชุดแรกที่มีการรับสมัคร สรรหา และแต่งตั้ง ไปเมื่อ 1 สิงหาคม 2553 จึงมีจำนวน 143 คนและทำหน้าที่ โดยมีวาระ 4 ปี (จะครบวาระของ คพข. ชุดแรก 31 กรกฏาคม 2557) ทั้งนี้ หลักการสำคัญของการได้มาซึ่ง คพข. ตามที่ พ.ร.บ. กำหนดไว้คือ จะเป็นผู้ใช้พลังงานในเขตจังหวัดตามที่มีการประกาศ ดังนั้นคุณสมบัติของ คพข. จึงถูกกำหนดอย่างเปิดกว้าง โดยมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ อายุไม่ตํ่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีชื่อในทะเบียนราษฎรในเขตจังหวัดนั้น ๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันรับสมัคร และเพื่อเป็นการเปิดกว้างในการคัดสรรจากจำนวนผู้สมัครของแต่ละพื้นที่จังหวัด กกพ. จึงกำหนดให้ คัดสรร คพข. โดยวิธีการจับสลาก ในส่วนการทำหน้าที่ของ คพข. ทั้ง 13 เขต จะมีการคัดเลือกประธาน 1 คน และ คพข. ไม่เกิน 10 คน โดยเมื่อ คพข. ได้รับแต่งตั้งจาก กกพ. ก็จะปฏิบัติหน้าที่ในเขตโดยมี สนง.กกพ. ประจำเขตพื้นที่ เป็นฝ่ายเลขานุการ ในการกลั่นกรองการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้พลังงาน (ไฟฟ้า) ซึ่ง พ.ร.บ.ฯ ก็ได้กำหนดประเภทเรื่องร้องเรียนที่จะเสนอต่อ คพข. ไว้ตามมาตรา 100 และ มาตรา 103 คือ การที่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการประกอบกิจการพลังงานของผู้รับใบอนุญาต (การไฟฟ้าฯ) และเรื่องที่ผู้ใช้ไฟฟ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจถูกเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ซึ่งข้อร้องเรียนดังกล่าวจะนำมาสู่การไกล่เกลี่ย และพิจารณาเพื่อหาข้อยุติต่อไป นอกจากไกล่เกลี่ยและพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว คพข. ก็สามารถให้คำปรึกษาและเสนอแนะมาตรการด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานและมาตรการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการด้านพลังงาน ได้ตามที่ พ.ร.บ.กำหนด ซึ่งที่ผ่านมา คพข. ทั้ง 13 เขต ก็ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ไปประมาณ 100 เรื่อง/ปี และจากข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ของ คพข. จึงนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตัด ต่อไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการชำระค่าไฟฟ้าล่าช้า (กฟภ.107 บาท/กฟน.40บาท) ,การขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล ,ขยายระยะเวลาชำระค่าไฟฟ้า, การปรับหลักเกณฑ์ประเภท ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว,จัดทำสัญญาบริการไฟฟ้ามาตรฐาน เป็นต้น ในการปฏิบัติหน้าที่ของ คพข. นั้น สนง.กกพ. ได้ออกระเบียบประกาศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการทำงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้ง 13 เขต ทั่วประเทศ โดยมี สนง.กกพ. ประจำเขต ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ระเบียบประกาศ ประกอบด้วย (1) ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การยื่นเรื่องร้องเรียน การรับเรื่องร้องเรียน และวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน เกี่ยวกับความเดือดร้อนเสียหายและข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้พลังงานกับผู้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2553 (2) ระเบียบ กกพ.ว่าด้วยคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และวิธีปฏิบัติงานของ คพข. พ.ศ. 2553 * (3) ประกาศ กกพ. เรื่องวิธีการสรรหา คพข. พ.ศ. 2553 * (4) ประกาศ กกพ. เรื่องการแบ่งเขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงาน พ.ศ. 2553* (5) ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประชุมของ คพข. พ.ศ. 2553 (6) ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติงานของ คพข. พ.ศ. 2555 (7) ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การคัดค้านและการพิจารณาคำร้องคัดค้าน พ.ศ. 2552 (8) ระเบียบ กกพ.ว่าด้วยคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และวิธีปฏิบัติงานของ คพข. พ.ศ. 2557 (*ระเบียบในข้อ (2) (3) ถูกยกเลิก และ (4) มีการปรับปรุงบางส่วนเพื่อจะใช้ในการสรรหา คพข. ชุดที่ 2 ซึ่งจะดำเนินการสรรหาในปี 2557) ทั้งนี้ การที่ คพข. มีที่มาจากผู้แทนผู้ใช้พลังงานและมีคุณสมบัติเปิดกว้างตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. นั้น สนง.กกพ. ก็มีหลักสูตรอบรมพัฒนา คพข. เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดช่วง 4 ปี ภายใต้โครงการ “คพข. แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ซึ่งที่ผ่านมาของ คพข. ชุดปัจจุบัน สนง.กกพ.ได้จัดโครงการอบรมพัฒนา คพข.และเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับ คพข. ทั้งหมด รวม 5 ครั้ง โดยเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ คือ (1) ภารกิจงานกำกับกิจการพลังงานของ กกพ. (2) มาตรฐานการให้บริการไฟฟ้า มาตรฐานทางวิศวกรรมและความปลอดภัย (3) กลไกการคุ้มครองผู้บริโภค (4) ระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (5) การพัฒนากระบวนคิดเชิงระบบเพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์ คพข. 5 ด้าน (6) การดูงานด้านพลังงานในต่างประเทศ (7) การสรุปบทเรียนในการดำเนินงานตามภารกิจ คพข. ![]() (1) การจัดการเรื่องร้องเรียนเชิงรุกเพื่อลดข้อร้องเรียน (2) การสร้างเครือข่ายเพื่อให้ความรู้กับประชาชน (3) การประชาสัมพันธ์ คพข. (4) การพัฒนาศักยภาพ คพข. (5) การพัฒนาความรู้ด้านพลังงานชุมชน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ คพข. ได้แก่การจัดโครงการและกิจกรรม เช่นการประชุมสัมมนาร่วมกับการไฟฟ้าภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงในเขตพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดูแลปัญหาข้อร้องเรียนของประชาชน การจัดอบรมสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความตระหนักแก่ประชาชนในด้านพลังงาน การจัดเวทีประชาสัมพันธ์เพื่อให้รู้จัก คพข. และช่องทางการร้องเรียน การจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้ด้านพลังงานชุมชน ซึ่งในช่วงเวลาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ได้จัดโครงการและกิจกรรมไปประมาณ 100 โครงการ การทำความรู้จักกับ คพข. ภายใต้คุณสมบัติ ที่มา องค์ประกอบ และบทบาทหน้าที่ตาม พ.ร.บ. และ ระเบียบ ประกาศ รวมทั้งการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ข้างต้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เห็นถึงกลไกเสริมงานด้านการกำกับกิจการพลังงาน ในส่วนของการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานและการมีส่วนร่วมในงานกำกับกิจการพลังงาน ที่มีการเปิดให้ผู้แทนผู้ใช้พลังงานที่มีจิตอาสาเข้ามาร่วมดำเนินงาน ซึ่งในโอกาสที่จะมีการสรรหา คพข. ชุดใหม่เพื่อให้เข้ามาทำหน้าที่แทน คพข. ชุดปัจจุบันที่จะหมดหน้าที่นั้น สนง.กกพ. จึงขอเชิญชวนผู้แทนผู้ใช้พลังงานที่สนใจและมีคุณสมบัติตามที่กำหนด สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น คพข. ของ แต่ละจังหวัด ต่อไป โดยในเบื้องต้นสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือ สอบถามที่ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สนง.กกพ. โทร 02 207 3599 ในวันและเวลาราชการ “ คพข. คุ้มครองผู้ใช้ เข้าใจผู้ประกอบการ พลังงานไทย ยั่งยืน” |
|||||||||||||
|
|||||||||||||
ขั้นตอนการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต และ คพข. เพื่อยุติเรื่องร้องเรียน |
|||||||||||||
การพัฒนาบทบาทภาคประชาชนภายใต้กลไกของ “คพข.” จัดทำโครงการ “คพข. แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ดำเนินการมาแล้วรวม 4 ครั้ง เพื่อให้ความรู้ และศึกษาดูงานด้านพลังงาน ซึ่งนำไปสู่ยุทธศาสตร์ร่วมของ สนง.กกพ. และ คพข. ที่จะใช้ดำเนินการร่วมกันในปี 2555 – 2557 ประกอบด้วย
|
|||||||||||||
ตัวอย่างโครงการ “คพข. แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ซึ่งจัดทุกภูมิภาคทั่วประเทศรวม 12 ครั้ง
|
|||||||||||||
|
|||||||||||||
การพัฒนาศักยภาพ คพข. ในโครงการ "คพข. แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ปี 2553-2557 1. หลักสูตรความรู้เบื้องต้นสำหรับ คพข. : การเจรจาไกล่เกลี่ย/ความรู้ด้านงานกำกับกิจการพลังงาน |
|||||||||||||
ตัวอย่างโครงการ “คพข. แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ซึ่งจัดทุกภูมิภาคทั่วประเทศรวม 12 ครั้ง
|
|||||||||||||
|
|||||||||||||
2. งานพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในกิจการพลังงาน
1. วัตถุประสงค์
• เพื่อสื่อสารองค์กร / ภารกิจงานกำกับกิจการพลังงาน
• สร้างความรู้ความตระหนักด้านพลังงาน (ภารกิจ กกพ. ตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550) • เพื่อการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยนำเสนอช่องทางการร้องเรียนของ คพข. รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ คพข. แต่ละเขต • รับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้พลังงานในประเด็นต่าง ๆ • รับเรื่องร้องเรียนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา • สร้างกลไกการดำเนินงานร่วมกับ กฟภ. ของแต่ละพื้นที่ • บันทึกฐานข้อมูลเครือข่ายเพื่อใช้ดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ฯ 2. พื้นที่ดำเนินงาน
ปี 2553 จัดในพื้นที่ 1 เขต ครอบคลุม 5 จังหวัด ประกอบด้วย ปี 2554 จัดในพื้นที่ 3 เขต ครอบคลุม 18 จังหวัด ประกอบด้วย ปี 2555 จัดในพื้นที่ 3 เขต ครอบคลุม 18 จังหวัด ประกอบด้วย ปี 2556 จัดในพื้นที่ 2 เขต ครอบคลุม 12 จังหวัด ประกอบด้วย ปี 2557 จัดในพื้นที่ 1 เขต ครอบคลุม 6 จังหวัด ประกอบด้วย |
|||||
|
|||||
3. ศึกษา วิจัย เพื่อสร้างคู่มือการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำกับกิจการพลังงาน (ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษากฎหมาย ระเบียบ ประกาศต่างๆ รวมถึงพัฒนาการด้านการมีส่วนร่วมในภาคประชาชนต่อกิจกรรมในภาครัฐ ที่มีความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงที่สอดรับกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยรูปแบบของการศึกษาคือ
• ศึกษาบริบทของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมทั้งในและต่างประเทศ • ศึกษาตัวอย่างการมีส่วนร่วมในหลายโครงการของภาครัฐ • สัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์/สังเคราะห์ความต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรม โครงการด้านพลังงาน และนำผลข้อมูลที่ได้มาประมวลเป็นคู่มือการปฏิบัติต่อการมีส่วนร่วมในภาคประชาชนในลักษณะต่างๆ ที่สมควรนำมาใช้ในงานกำกับกิจการพลังงาน ![]() ![]() รธน.67 วรรค 2 หรืออื่นๆ
|
|
4. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลเครือข่ายฯ (ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
คือการนำเทคโนโลยี web application มาใช้ในการจัดการเพื่อให้ผู้ใช้งาน (ฝ่ายงานต่างๆ ของ สนง.กกพ.) สามารถเข้าถึงข้อมูลของระบบร่วมกัน และทุกฝ่ายสามารถส่งเข้าข้อมูลที่ต้องการทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากกิจกรรมของฝ่ายงานนั้นๆ เข้าสู่ระบบ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานร่วมกัน | |
![]() |
|
5. ช่องทางสื่อสารกับ คพข. และเครือข่าย เพื่อสื่อสารนโยบายและรับฟังความคิดเห็น
1. จัดทำวารสาร “กกพ. คนกำกับ” ราย 2 เดือน ส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายและเผยแพร่ทั่วไป
|
|||||||||
|
|||||||||
2. คู่มือสิทธิประโยชน์ผู้ใช้พลังงาน เพื่อเผยแพร่ภารกิจงานในการกำกับกิจการพลังงานต่อผู้ใช้พลังงาน ประชาชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียในงานกำกับกิจการพลังงาน
|
|||||||||
|
|||||||||
3. จัดทำเอกสารเผยแพร่อื่นๆ เพื่อให้ความรู้และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ใช้พลังงาน
|
|||||||||
|
|||||||||
4. จัดหาช่องทางสื่อสารยังจุดพื้นที่ให้บริการ
|
|||||||||
|
|||||||||
5. เว็บไซต์คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน www.erc.or.th ในส่วนของคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.)
|
|||||||||
![]() |
|||||||||
6. เว็บไซต์ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์
|
|||||||||
|
|||||||||
7. เฟซบุ๊ค (Facebook) ชื่อ วารสารคนกำกับ สำนักงาน กกพ. (https://www.facebook.com/konkamkab.erc) |
|||||||||
![]() |
|||||||||